Website วิชาการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ


     เพื่อให้เอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วนและตรงตามรูปแบบที่ทางคณะกรรมการฯได้กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (คณะกรรมการจะไม่รับพิจารณาบทความที่ไม่ปรับ ให้ตรงตามรูปแบบที่กำหนดและเอกสารไม่ครบถ้วน)

(1) ประเภทบทความ

1. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)

     ส่วนแรกประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ สถาบันของผู้นิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและข้อมูลการติดต่อ

     บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250 คำ ในแต่ละภาษา โดยประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

    - บทนำ (Background)

    - วัตถุประสงค์ (Objective)

    - วิธีการศึกษา (Methods)

    - ผลการศึกษา (Results)

    - สรุป (Conclusions)

    - คำสำคัญ (Keywords) เรียงตามตัวอักษร จำกัดไม่เกิน 5 คำ

     เนื้อเรื่องเฉพาะภาษาไทย ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

    - บทนำ

    - วัตถุประสงค์

    - วิธีการศึกษา

    - ผลการศึกษา

    - วิจารณ์

    - สรุป

    - กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)

    - เอกสารอ้างอิง

2. รายงานผู้ป่วย (Case report)

     ควรเป็นรายงานผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดาเป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่ที่พบได้ไม่บ่อย หรือไม่เคยมีมาก่อน หรือโรคที่มีลักษณะหรือการดำเนินโรคที่ไม่ตรงรูปแบบปกติ รวมทั้งมีการแสดงข้อมูลในส่วนการวินิจฉัยและการรักษา โดยให้ลำดับเนื้อหาดังต่อไปนี้

     ส่วนแรก ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ สถาบันของผู้นิพนธ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และข้อมูลการติดต่อ

     บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 10 บรรทัดกระดาษ A4 โดยเขียนในลักษณะบรรยายเกี่ยวกับประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัย การรักษาและผลการรักษา พร้อมคำสำคัญ

     เนื้อเรื่องเฉพาะภาษาไทย ไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 โดยประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

    - บทนำ

    - รายงานผู้ป่วย

    - วิจารณ์

    - สรุป

    - กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)

    - เอกสารอ้างอิง

3. บทความฟื้นฟูวิชาการ (Review article)

     เป็นบทความที่ทบทวนหรือรวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ บทความฟื้นฟูวิชาการควรมีข้อมูลเรียงลำดับดังนี้

     รูปแบบการเขียนคล้ายกับนิพนธ์ต้นฉบับ ประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป

     ส่วนแรกประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ สถาบันของผู้นิพนธ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และข้อมูลการติดต่อ

     เนื้อเรื่องเฉพาะภาษาไทย ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4โดยประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

    - บทนำ

    - วิธีการสืบค้นข้อมูล

    - เนื้อหาที่ทบทวน

    - บทวิจารณ์

    - เอกสารอ้างอิง

4. บทปกิณกะ (Miscellany)

     เป็นบทความที่ไม่สามารถจัดเข้าในประเภทใดๆ ข้างต้น เช่น บทปริทัศน์ รายงานผลการศึกษาโดยสังเขป หรือรายงานเบื้องต้น

(2) ส่วนประกอบของบทความ

1. ชื่อเรื่อง (Title) ประกอบด้วย

1.1 ชื่อเรื่อง - สั้น กะทัดรัด และสื่อความหมายหลักของการศึกษา ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร พร้อมช่องไฟ ถ้าชื่อยาวมากตัดเป็นชื่อเรื่องรอง (subtitle) ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
1.2 ชื่อผู้นิพนธ์ - ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ใช้ชื่อ นามสกุลเต็ม) ไม่ใส่ชื่อผู้บังคับบัญชาเป็นผู้นิพนธ์ร่วมหากไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำงานวิจัยจริง
1.3 หน่วยงาน - สถาบันที่ผู้นิพนธ์ทำงานหรือศึกษา
1.4 แหล่งทุน (ถ้ามี)

2. บทคัดย่อ (Abstract)     - ย่อเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญเท่านั้น ให้มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและอังกฤษ อนุญาตให้ใช้คำย่อ สูตร สัญญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่เป็นสากล ใช้ภาษารัดกุม ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ และประกอบด้วยหัวข้อต่างๆตามคำแนะนำ

3. คำสำคัญ (Keywords)     - ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อเป็นคำศัพท์หรือวลีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประมาณ 3-5 คำ เพื่อนำไปใช้ในการบรรจุเรื่องสำหรับการค้นหา

4. บทนำ (Introduction)     - เป็นส่วนของบทความที่บอกเหตุผลนำไปสู่การศึกษาบอกจุดมุ่งหมายของการศึกษา ให้ผู้อ่านรู้ปัญหานำไปสู่ความจำเป็นในการศึกษาวิจัยให้ได้ผลเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้หากมีทฤษฎีที่จำเป็นต้องใช้ในการศึกษา อาจวางพื้นฐานไว้ในส่วนนี้ได้ และให้รวมวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ในส่วนท้ายของบทนำนี้ด้วยก็ได้

5. วิธีการศึกษา (Methods)     - เขียนชี้แจงแยกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ คือ กลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษา

            - หัวข้อกลุ่มตัวอย่างให้บอกรายละเอียดของสิ่งนำมาศึกษารวมถึงจำนวนและลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา เช่น เพศ อายุ น้ำหนัก ฯลฯ ต้องบอกถึงการอนุญาตจากผู้ที่เข้ารับการศึกษาและการยอมรับจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมในการศึกษาสิ่งมีชีวิต ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา

            - หัวข้อวิธีการศึกษา เริ่มด้วยรูปแบบแผนการศึกษา (Study design, Protocol) เช่น Randomized double blind, Descriptiveหรือ Quasi-experiment การสุ่มตัวอย่าง เช่นการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายแบบหลายขั้นตอน เป็นต้น วิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา ( Interventions) เช่น รูปแบบการศึกษา การรักษา ชนิดและขนาดของยาที่ใช้ ถ้าเป็นมาตรการที่รู้จักทั่วไปให้ระบุ ในเอกสารอ้างอิงถ้าเป็นวิธีใหม่อธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจแล้วนำไปใช้ต่อได้ ให้ระบุเครื่องมือ/อุปกรณ์ และหลักการที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ/ปริมาณให้ชัดเจน และกระชับ เช่นแบบสอบถามการทดสอบความน่าเชื่อถือ วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ศึกษา

6. ผลการศึกษา (Results)     - แสดงผลที่พบตามลำดับหัวข้อของแผนการศึกษาอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ถ้าผลไม่ซับซ้อนไม่มีตัวเลขมากสามารถบรรยายเป็นร้อยแก้ว แต่ถ้าตัวเลขมากตัวแปรมากควรใช้ตารางหรือ แผนภูมิ โดยไม่ต้องอธิบายตัวเลขในตารางซ้ำอีกในเนื้อเรื่อง ยกเว้นข้อมูลสำคัญๆ

7. วิจารณ์ผล (Discussion)     - วิจารณ์ผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น วิจารณ์ผลที่ไม่ตรงตามที่คาดหวังอย่างไม่ปิดบัง อาจแสดงความคิดเห็นเบื้องต้นตามประการณ์หรือข้อมูลที่ตนมีเพื่ออธิบายส่วนที่โดดเด่นแตกต่างเป็นพิเศษได้

8. สรุปผลการศึกษา (Conclusion)     - ผลที่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่ ให้ข้อเสนอแนะที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์หรือให้ประเด็นคำถามการวิจัยต่อข้อสรุปนั้น (อาจใส่ไว้ในหัวข้อเดียวกันกับวิจารณ์ก็ได้)

9. ตาราง ภาพ และแผนภูมิ     - ควรแยกพิมพ์ต่างหาก ไม่ควรสอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง แต่ในเนื้อเรื่องควรมีการอ้างถึงรูปภาพหรือ ตาราง ตามลำดับ โดยรูปภาพและตารางต้องแสดงชื่อกำกับไว้ เช่น ตารางที่ 1 (ชื่อตาราง) หรือ รูปที่ 1 (ชื่อรูป) หรือแผนภูมิที่ 1 (ชื่อแผนภูมิ)

9. ตาราง ภาพ และแผนภูมิ     - ควรแยกพิมพ์ต่างหาก ไม่ควรสอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง แต่ในเนื้อเรื่องควรมีการอ้างถึงรูปภาพหรือ ตาราง ตามลำดับ โดยรูปภาพและตารางต้องแสดงชื่อกำกับไว้ เช่น ตารางที่ 1 (ชื่อตาราง) หรือ รูปที่ 1 (ชื่อรูป) หรือแผนภูมิที่ 1 (ชื่อแผนภูมิ)

10. กิตติกรรมประกาศ     - มีเพียงย่อหน้าเดียว แจ้งให้ทราบว่ามีการช่วยเหลือที่สำคัญจากที่ใดบ้าง เช่น ผู้บริหาร ผู้ช่วยเหลือทางเทคนิคบางอย่างและผู้สนับสนุนทุนการวิจัยเท่าที่จำเป็น

11. เอกสารอ้างอิง     - ศึกษาตามหัวข้อการเขียนเอกสารอ้างอิง

(3) เอกสารอ้างอิง (References)

      การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style) โดยใส่ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวยกหลังข้อความหรือหลังชื่อบุคคลเจ้าของข้อความที่อ้างถึง โดยใช้หมายเลข 1 สำหรับเอกสารอ้างอิงอันดับแรกและเรียงต่อไปตามลำดับ ถ้าต้องการอ้างอิงซ้ำให้ใช้หมายเลขเดิม ห้ามใช้คำย่อในเอกสารอ้างอิงยกเว้นชื่อต้นและชื่อวารสาร แนะนำให้ใช้โปรแกรม Endnote ในการจัดการเอกสารอ้างอิง

1. วารสารวิชาการ

     - ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร ปีที่พิมพ์; ปีที่: หน้าแรก - หน้าสุดท้าย.

     วารสารภาษาไทยชื่อผู้นิพนธ์ให้ใช้ชื่อเต็มทั้งชื่อและนามสกุล ชื่อวารสารเป็นชื่อเต็ม ปีที่พิมพ์เป็นปีพุทธศักราช วารสารภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลก่อน ตามด้วยตัวอักษรย่อตัวหน้าตัวเดียวของชื่อตัวและชื่อรอง ถ้ามีผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้เขียนแค่ 6 คน และตามด้วย et al. สำหรับวารสารภาษาอังกฤษ หรือและคณะสำหรับวารสารภาษาไทย ชื่อวารสารใช้ชื่อย่อตามแบบ Index Medicus หรือตามแบบที่ใช้ในวารสารนั้นๆ เลขหน้าสุดท้ายใส่เฉพาะเลขท้าย ตามตัวอย่าง

     1. พิชัย โชตินพรัตน์ภัทร, สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์, พงษ์ศักดิ์ จันทร์งาม. ความชุกของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้ง ครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2546;47:223-30.

     2. Adam I, Khamis AH, Elbashir ML. Prevalence and risk factors for anemia in pregnancy women of eastern sudan. Trans R Soc Trop Med Hygo 2005;99:739-43.

2. หนังสือหรือตำรา

     - ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์ :สำนักพิมพ์ ; ปีที่พิมพ์.ตามตัวอย่าง

     1. รังสรรค์ปัญญาธัญญะ.โรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2556.

     2. Janeway CA, Travers P, Walport M, Shlomchik M. Immunobiology. 5thed. New York: Garland Publishing; 2001.

3. บทในหนังสือหรือตำรา

     - ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อบทในหนังสือหรือตำรา. ใน : ชื่อบรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ ; ปีที่พิมพ์. หน้าแรก - หน้าสุดท้าย. ตามตัวอย่าง

     1. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การให้สารน้ำและเกลือแร่. ใน: มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2540. หน้า 424 – 78.

     2. Esclamado R, Cummings CW. Management of the impaired airway in adults. In: Cumming CW, Fredrickson JM, Harker LA, Krause CJ, Schuller DE, editors. Otolaryngology – head and neck surgery. 2nd ed. St. Louis, MO: Mosby Year Book; 1993. p 2001-19.

4. สิ่งตีพิมพ์ของหน่วยงาน/สถาบันต่างๆ

     - ให้ใส่ชื่อหน่วยงาน/สถาบันนั้นๆ ในส่วนที่เป็นชื่อผู้เขียน ตามตัวอย่าง

     1. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. เกณฑ์การวินิจฉัยและแนวทางการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกาย ของโรคระบบการหายใจเนื่องจากการประกอบอาชีพ. แพทยสภาสาร 2538;24:190-204.

     2. World Health Organization. Surveillance of antibiotic resistance in Neisseria gonorrhoeae in the WHO Western Pacific Region. Commun Dis Intell 2002;26:541-5.

5. เอกสารจากเว็บไซด์และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์

     - ลำดับที่. ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร [ประเภทของสื่อ/วัสดุ] ปีพิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ/cited ปี เดือน วันที่]; เล่มที่: หน้าแรก - หน้าสุดท้าย [หน้า/screen]. Available from: http://……….

     1. Rushton JL, Forcier M, Schactman RM. Epidemiology of depressive symptoms in the National Longitudinal Study of Adolescent Health [abstract]. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry [online] 2002 [cited 2003 Jan 21];41: 199-205. Available from;http://www.ncbi.nlm.nih.gov/

     2. Morse SS. Factors in the emergence of infection diseases. Emerg Infect Dis [online] 1995 [Cited 1996 Jun 5]; 1 [24 screens]. Available from:http://www.cdc.gov/ncidod/EID/eid.htm.

(4) การพิมพ์และการส่งบทความ

     1. พิมพ์ตั้งค่าสำหรับกระดาษ A4 หน้าเดียว ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้าโดยใช้ โปรแกรมและบันทึกไฟล์ใน Microsoft word

     2. กรณีมีแผนภูมิ - กราฟ ให้ทำเป็นภาพสี และวางในตำแหน่งที่ต้องการ

     3. กรณีมีรูปภาพให้บันทึกรูปแยกออกมา โดยใช้ไฟล์นามสกุล JPEG ความละเอียด 350 PIXEL และให้พิมพ์คำอธิบายที่สั้นและชัดเจนใต้รูปภาพ การจะได้เผยแพร่เป็นภาพสีหรือไม่นั้น ขึ้นกับการพิจารณาของคณะกรรมการฯ

     หมายเหตุ: ตัวอย่างรูปแบบของบทความประเภทนิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) และรายงานผู้ป่วย (Case report) สามารถดาวน์โหลดได้จากหน้า website วิชาการฯ

(5) เอกสารประกอบในการส่งบทความลง Website วิชาการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ดังต่อไปนี้

     (นอกเหนือจากเอกสารบทความวิชาการ) โดยให้ส่งมาเป็นเอกสารนามสกุล pdf พร้อมลงลายมือชื่อตามแบบฟอร์ม

    5.1 แบบฟอร์มขอส่งบทความลง website วิชาการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

    5.2 ประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Curriculum Vitae)

    5.3 แบบรับรองการผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

    5.4 หนังสือรับรองการลงบทความใน website วิชาการโรงพยาบาลมหาราชนนครศรีธรรมราช

หมายเหตุ: - เอกสาร 5.1 และ 5.4 สามารถดาวน์โหลดได้จากหน้า website วิชาการฯ

    - รับพิจารณาบทความจากผู้นิพนธ์ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้น***

(6) การส่งต้นฉบับมีช่องทาง

  ทางหน้า website http://mecnst.com/websitevichakan/

(7) การชำระเงินค่าตรวจ ประเมิน อ่านบทความ

  หลังจากบทความผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการและเข้าสู่กระบวณการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ขอให้ผู้ส่งบทความชำระเงินค่าตรวจ ประเมิน อ่านบทความ ตามรายละเอียดดังนี้

  1. บุคคลากรภายในของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชจำนวน    1,000 บาท/บทความ

  2. บุคคลากรภายนอกของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชจำนวน   1,500 บาท/บทความ


  หมายเหตุ : การโอนเงินให้ทำรายการได้เมื่อได้รับ E-mail แจ้งเตือนให้ชำระเงินแล้วเท่านั้น


  บัญชี ธนาคารกรุงไทยสาขาโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

  ชื่อบัญชี (Account Name) “กองทุนสวัสดิการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช”

  หมายเลขบัญชี (Account No.) 833-0-02250-1


  ทั้งนี้กรรมการ Website วิชาการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ขอสงวนสิทธิ์ว่าบทความทุกบทความที่ส่งและโอนเงินค่าตรวจ-ประเมิน-อ่านบทความมาแล้ว ไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ไม่ว่ากรณีใดๆ

  การออกใบเสร็จรับเงินเมื่อท่านโอนเงินผ่านบัญชีดังกล่าวแล้วขอให้ส่งหลักฐานการโอนเงินรวมทั้ง แจ้งชื่อ-นามสกุล ผู้เขียนบทความ ตลอดจนที่อยู่มายัง คณะกรรมการฯ ทางอีเมล์ websitevichakan.mnst@gmail.com หรือทางหน้า website เพื่อจะดำเนินการออกใบเสร็จรับเงินและจัดส่งให้ผู้เขียนบทความต่อไป

  หมายเหตุ : กำหนดการเผยแพร่ลง Website วิชาการภายใน 45 วันทำการ (กรณีไม่มีการแก้ไข) นับจากวันที่ส่งบทความ




อ่านทั้งหมด