บทนำ |
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มทางเลือกในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคให้กับผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตามปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับสูงกว่าการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยชนิดอื่น จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ เนื่องด้วยโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชยังไม่เคยมีการสำรวจค่าปริมาณรังสียังผลมาก่อน จึงได้ทำการศึกษาในเรื่องนี้ |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อศึกษาค่าปริมาณรังสียังผลเฉลี่ยของการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนศีรษะ ทรวงอก และช่องท้อง ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชและเพื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสียังผลกับค่า มาตรฐานของหน่วยงานระดับสากล |
วิธีการศึกษา |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง จากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย อิเล็กทรอนิกส์ |
ผลการศึกษา |
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 รายเป็นเพศชาย 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.50 อายุเฉลี่ย 52.94±15.62 ปี มีน้ำหนักเฉลี่ย 59.73±8.10 กก.ปริมาณรังสียังผลของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนศีรษะทั้งแบบฉีดและไม่ฉีดสารทึบรังสีเท่ากัน คือ 2.2 มิลลิซีเวิร์ต (mSv) ปริมาณรังสียังผลของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนช่องอกทั้งแบบฉีดและไม่ฉีดสารทึบรังสีเท่ากับ 6.3 mSv และ 7.1 mSv ปริมาณรังสียังผลของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนช่องท้องทั้งแบบฉีดและไม่ฉีดสารทึบรังสีเท่ากับ 11.1 mSv,10.7 mSv เมื่อเปรียบเทียบค่าปริมาณรังสียังผลของการศึกษานี้กับของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าค่าปริมาณรังสียังผลจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนช่องท้องแบบไม่ฉีดสารทึบรังสี สูงกว่าปริมาณรังสีอ้างอิงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อยู่ 0.3mSv เมื่อเปรียบเทียบกับของสมาคมยุโรปปี 2006 พบว่าปริมาณรังสียังผลของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนศีรษะ, ช่องอกและช่องท้องแบบไม่ฉีดสารทึบรังสีไม่เกินค่าอ้างอิงเมื่อ เปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศปี 2006 (IAEA 2006) พบว่าปริมาณ รังสียังผลของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนศีรษะและช่องท้องแบบไม่ฉีดสารทึบรังสีเกินค่าอ้างอิงของ IAEA 2006 อยู่ 1.0 mSv และ 0.7 mSv ตามลำดับ
|
สรุป |
ปริมาณรังสียังผลเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณศีรษะ ทรวงอกและช่องท้องของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชมีค่าไม่เกินค่าอ้างอิงของสมาคมยุโรป (European Commission 2006) และของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปี 2562 ยกเว้น CT Whole abdomen NC ที่มีค่าสูงกว่าของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปี 2562 แต่เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิงของ IAEA 2006 พบว่า การศึกษานี้มีค่าสูงกว่า ยกเว้น CT Chest NC ที่มีค่าต่ำกว่าดังนั้นทีมนักรังสีการแพทย์ควร พิจารณาปรับลดค่า parameter ต่างๆเพื่อลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับ |
คำสำคัญ |
ปริมาณรังสียังผล เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มิลลิซีเวิร์ต |