บทนำ |
การถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมเป็นการตรวจหาความผิดปกติของเต้านม การควบคุมปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัยเป็นความท้าทายทางเทคนิค |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อศึกษาปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนม ค่าปริมาณรังสีที่ผิวที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม และความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนม ค่าปริมาณรังสีที่ผิวที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมกับค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ |
วิธีการศึกษา |
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิทัลทั้ง 4 ท่า (RCC, LCC, RMLO และ LMLO) ที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2567 จำนวน 381 ราย 1,524 ภาพ |
ผลการศึกษา |
กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 53.51 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 60.62 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 1.56 เมตร ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 24.60 kg/m2 ความหนาเต้านมที่ถูกกดทับเฉลี่ย 47.51-49.58 มิลลิเมตร ท่า RMLO ใช้แรงกดทับมากที่สุด (125.11 นิวตัน) ความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุดเฉลี่ย 28.36-28.58 kV กระแสหลอดคูณเวลาสูงสุดในท่า RMLO (112.09 mAs) ปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยได้รับเฉลี่ย 4.24 มิลลิเกรย์ และปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนมเฉลี่ย 1.23 มิลลิเกรย์ ซึ่งต่ำกว่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย แบบจำลองการพยากรณ์พบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ = 0.974 สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ = 0.949 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อปริมาณรังสีได้แก่ ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสหลอดคูณเวลา |
สรุป |
ปริมาณรังสีจากการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สมการพยากรณ์ปริมาณรังสีในการตรวจเอกซเรย์เต้านม |
คำสำคัญ |
ปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนม ปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยได้รับ เอกซเรย์เต้านม |