บทนำ |
บทนำ : การพัฒนาคุณภาพบริการ จะเอื้อประโยชน์ให้ประชาชนได้รับการบริการที่ปลอดภัย ได้รับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ภายใต้การรักษาแบบองค์รวมที่ดูแลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ บทบาทของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติงานเพื่อการดูแลที่มีคุณภาพและมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องเป็นหัวใจสำคัญของการบริการทางการแพทย์เป็นแนวทางที่สร้างประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขของไทย |
วัตถุประสงค์ |
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช |
วิธีการศึกษา |
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ถึงเดือนสิงหาคม 2567 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน |
ผลการศึกษา |
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 120 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.50 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 62.50 อายุการปฏิบัติงานเฉลี่ย 6 เดือน - 10 ปี ร้อยละ 35.80 รายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 40,001 – 60,000 บาท ร้อยละ 35.80 เจ้าหน้าที่มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพบริการที่ถูกต้อง 3 อันดับแรกได้แก่เรื่องกิจกรรม 5 ส ร้อยละ 99.2 รองลงมาคือเรื่อง คุณภาพบริการเป็นการตอบสนองความต้องการที่จำเป็นและความคาดหวังของผู้รับผลงาน ร้อยละ 95.00 |
สรุป |
สรุป : ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาล ในด้านการสนับสนุนของหน่วยงาน/องค์กร ด้านเจตคติและด้านการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง จึงควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนแก่เจ้าหน้าที่ในแต่ละด้านให้มีระดับคะแนนที่สูงขึ้น |
คำสำคัญ |
คำสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพบริการ การมีส่วนร่วม |