เอกชัย ศิริพานิช, ฌอชนา วิเชียร, อรุณี ทิพย์วงศ์, สุมาลี สิงห์เกิด
วันที่เผยแพร่ 24 ก.พ. 2568
บทคัดย่อ
บทนำ |
ความแตกต่างของกรอบความคิด (mindset) ระหว่างกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) และกรอบความคิดแบบยึดติด (Fixed Mindset) มีผลต่อการเรียนรู้และโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียน จึงเกิดแนวคิดการศึกษาความสัมพันธ์ของกรอบความคิดกับผลการสอบ เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความคิดทั้ง 2 แบบ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน |
วัตถุประสงค์ |
: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกรอบความคิด (mindset) กับผลการสอบประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมขั้นตอนที่ 1 ของนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 ศูนย์แพทย์ฯ รพ.มหาราชนครศรีฯ และศูนย์แพทย์ฯ รพ.สุราษฎร์ฯ |
วิธีการศึกษา |
สถิติเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวาง ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน independent t-test โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามชุดกรอบความคิด จำนวน 10 ข้อ จากนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 61 คน ปีการศึกษา 2023 และนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกรอบความคิดและผลการสอบประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมขั้นตอนที่ 1 |
ผลการศึกษา |
: พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับกรอบความคิดแบบยึดติดมากกว่ากรอบความคิดแบบเติบโต คิดเป็นร้อยละ 50.82 และผลการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบ NL 1 ผ่าน ได้แก่ ระดับคะแนน GPA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ น้อยกว่า 0.5 ค่าสัมประสิทธิ์ (B = 7.61) P-value 0.05 |
สรุป |
กลุ่มตัวอย่างมีกรอบความคิดแบบผสม โดยแบ่งเป็นระดับกรอบความคิดแบบยึดติดมากกว่ากรอบความคิดแบบเติบโต และปัจจัยที่มีผลต่อการสอบ NL 1 ผ่าน คือ ระดับคะแนน GPA เพียงปัจจัยเดียว ถ้ามีเกรดเฉลี่ยสูงจะสอบผ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
คำสำคัญ |
กรอบความคิดแบบเติบโต กรอบความคิดแบบยึดติด |
PDF (ภาษาไทย)