บทนำ |
มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ซึ่งผู้ป่วยมักจะได้รับการวินิจฉัยเมื่อโรคอยู่ในระยะลุกลาม ทำให้อัตราการรอดชีวิตลดลง แม้ว่าการรักษาหลัก
จะประกอบด้วยการผ่าตัด การฉายรังสีและเคมีบำบัด แต่อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยยังคงขึ้นอยู่กับระยะของโรค ดังนั้น การตรวจพบและการเข้าถึงการรักษาในระยะแรกจึงมีความสำคัญในการเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต
|
วัตถุประสงค์ |
เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ได้รับการรักษา
ที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
|
วิธีการศึกษา |
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study)
โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Kaplan-Meier survival curve และ Cox regression เพื่ออธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิต
|
ผลการศึกษา |
จากผู้ป่วย 101 คน มีเพศหญิง 59 คน (58.42%) เพศชาย 42 คน (41.58%) อายุเฉลี่ย 62.53 ปี มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณลิ้น (35.64%) การรอดชีวิตที่ 1 ปี – 5 ปี คือ 96%, 82%, 65%, 51% และ 47% ค่าเฉลี่ยเวลารอดชีวิตอยู่ที่ 53 เดือน ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตน้อยลง ได้แก่ TNM ระยะ III (aHR = 8.20, p-value < 0.01) และระยะ IV (aHR = 8.12, p-value < 0.01) ผู้ที่ไม่ได้รับการผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อ
การเสียชีวิต (aHR = 3.15, p-value < 0.01) และการกลับมาเป็นซ้ำ (aHR = 2.25, p-value = 0.02) สูงกว่า
|
สรุป |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ได้แก่ ระยะของ TNM การรักษาด้วยการผ่าตัดและการกลับมาเป็นซ้ำ โดยผู้ป่วยในระยะ III, IV และผู้ที่ไม่ได้รับการผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่า |
คำสำคัญ |
การรอดชีพ ปัจจัย มะเร็งช่องปาก |