บทนำ |
บทนำ : ก้อนที่คอเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหูคอจมูกนอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดแล้ว การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคก้อนที่คอ การเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดเล็กเป็นวิธีที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยวินิจฉัย ซึ่งขนาดของเข็มที่ใช้มีความแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละโรงพยาบาล |
วัตถุประสงค์ |
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยก้อนที่คอ ด้วยวิธีการเจาะชิ้นเนื้อโดยการใช้เข็มขนาด 23 และ 25-G และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการวินิจฉัยก้อนที่คอ |
วิธีการศึกษา |
วิธีการศึกษา : ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนในผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่คอ จำนวน 90 คน ซึ่งได้รับการเจาะชิ้นเนื้อโดยการใช้เข็มขนาด 23 และ 25-G โดยเก็บข้อมูลผลการวินิจฉัย ลักษณะก้อน และลักษณะของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์การวิเคราะห์ตัวแปรเดียว และพหุตัวแปร |
ผลการศึกษา |
ผลการศึกษา : การศึกษานี้พบว่าผลการวินิจฉัยในการเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็มทั้ง 2 ขนาด คือ ขนาด 23-G และ 25-G เมื่อนำมาเปรียบเทียบโดยการนำตัวแปรต่าง ๆ มาวิเคราะห์ร่วม พบว่าผลการวินิจฉัยของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.234) รวมทั้งขนาดและตำแหน่งก้อนไม่ได้มีผลต่อการวินิจฉัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
สรุป |
สรุป : การใช้เข็มขนาด23-G หรือ 25-G ในการเจาะชิ้นเนื้อ ไม่มีความแตกต่างต่อผลการวินิจฉัยก้อนที่คอ และพบว่าขนาดและตำแหน่งก้อนไม่มีผลต่อการวินิจฉัยอย่างมีนัยสำคัญ |
คำสำคัญ |
คำสำคัญ : เข็มขนาด 23-G เข็มขนาด 25-G ผลการวินิจฉัย การเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็ม ก้อนที่คอ |