บทนำ |
แผลเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยเกิดจากพยาธิสภาพของหลอดเลือดส่วนปลายทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงลดลงหากไม่รักษาอย่างถูกต้องอาจนำไปสู่การตัดอวัยวะเกิดภาวะทุพพลภาพสูญเสียภาพลักษณ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความวิตกกังวลและความเครียดส่งผลต่อจิตใจ ความสุขในการใช้ชีวิตลดลงซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต่ำลง |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทุ่งสง จำแนกตามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล |
วิธีการศึกษา |
เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางซึ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีแผลเบาหวานเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลทุ่งสง ระหว่าง 30 พ.ค. 2565 ถึง 30 ธ.ค. 2565 เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดคุณภาพชีวิต (WHOQOL-BREF-THAI) นำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในการวิเคราะห์ |
ผลการศึกษา |
กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 70 คนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.60 อายุน้อยกว่า 60 ปี ร้อยละ 70 สภานภาพสมรส ร้อยละ 80 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 57.10 รายได้น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 35.70การศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาในการเป็นเบาหวานน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 61.40 ระดับน้ำตาล 100-200 mg.% ร้อยละ 47.10 รักษาเบาหวานด้วยยากินร้อยละ 15.83 ระดับคะแนนคุณภาพชีวิตในทุกด้านและภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยพบว่าเพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิง และระยะเวลาผู้ที่เป็นเบาหวานน้อยกว่า 10 ปี มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่เป็นเบาหวาน 10 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = <0.001 และ p-value = 0.006 ตามลำดับ) |
สรุป |
ระดับคะแนนคุณภาพชีวิตในทุกด้านและภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลรายข้อ พบว่า เพศ และระยะเวลาในการเป็นเบาหวานเป็นปัจจัยที่มีความแตกต่างซึ่งควรมีการพัฒนาในแต่ละด้านให้มีระดับคะแนนที่สูงขึ้น |
คำสำคัญ |
คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แผลเบาหวานเรื้อรัง |